รูปลักษณะ : เหงือกปลาหมอดอกม่วง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.0 เมตร
พบตามป่าชายเลน และบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลาง และภาคตะวันออก
ส่วนชนิดดอกม่วงพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลำต้นกลมเรียบ แข็ง
สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อๆ ละหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่
รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่างๆ
ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง
ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประสีแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า
มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝัก รูปไข่หรือทรงกระบอก
สรรพคุณของ เหงือกปลาหมอดอกม่วง : ต้น, เมล็ด รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม ใบ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด
พบตามป่าชายเลน และบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลาง และภาคตะวันออก
ส่วนชนิดดอกม่วงพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลำต้นกลมเรียบ แข็ง
สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อๆ ละหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่
รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่างๆ
ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง
ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประสีแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า
มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝัก รูปไข่หรือทรงกระบอก
สรรพคุณของ เหงือกปลาหมอดอกม่วง : ต้น, เมล็ด รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม ใบ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น