วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชมพู่น้ำดอกไม้

รูปลักษณะ : ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 12-17 ซม. ดอกช่อกระจะ
ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 3-8 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย
เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด กินได้ รูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม.
สรรพคุณของ ชมพู่น้ำดอกไม้ : ผล ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้ เปลือก, ต้น และเมล็ด แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย

กระดังงาไทย

รูปลักษณะ : กระดังงาไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ
สรรพคุณของ กระดังงาไทย : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม
ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สลอด

รูปลักษณะ : สลอด เป็นไม้พุ่ม สูง 3-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-10 ซม. ใบสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาล ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ประกอบด้วยดอกตัวเมียอยู่ด้านล่าง ดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู ภายในมี 1-3 เมล็ด
รรพคุณของ สลอด : เมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง แต่พบว่ามีฤทธิ์รุนแรงมาก ต้องระวังขนาดที่ใช้ ปัจจุบันจัดเป็นพืชมีพิษ

ส้มเช้า


รูปลักษณะ : ส้มเช้า เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร
กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีหนามแข็งตามมุม เรียงเป็นแถวตามยาว มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ
รูปถ้วย ออกตามกิ่งก้าน ใบประดับสีเหลือง ดูคล้ายกลีบดอก ดอกย่อยแยกเพศ
อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง ไม่แตก
สรรพคุณของ ส้มเช้า : มีสรรพคุณและข้อควรระวังเช่นเดียวกับสลัดได ลำต้นและเปลือก ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาถ่าย

คูน

รูปลักษณะ : คูน เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ
ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง
ห้อยเป็นโคมระย้า กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็ง
ผิวเรียบ ภายในมีผนังกั้นเป็นห้อง แต่ละห้องมีเมล็ด 1 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีดำเหนียว
สรรพคุณของ คูน : เนื้อหุ้มเมล็ดสีดำ มีกลุ่มสารแอนทราคิวโนน เป็นยาระบาย โดยใช้ขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอน ดอก เป็นยาระบาย และแก้ไข้

แกแล

รูปลักษณะ : แกแล เป็นไม้พุ่ม สูง 5-10 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ
เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 2- 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน
ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม
สรรพคุณของ แกแล : แก่น ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง บำรุงเลือด

ผักเป็ดแดง



รูปลักษณะ : ผักเป็ดแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 10-20 ซม.
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม.
ยาว 1-5 ซม. สีแดง ดอกช่อ รูปกระบอก หรือทรงกลมออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง
กลีบรวมสีขาวนวล ผลแห้ง รูปคล้ายโล่ เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของ ผักเป็ดแดง : ทั้งต้น รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้
ตำพอกรักษาแผล

เหงือกปลาหมอดอกม่วง


รูปลักษณะ : เหงือกปลาหมอดอกม่วง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.0 เมตร
พบตามป่าชายเลน และบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลาง และภาคตะวันออก
ส่วนชนิดดอกม่วงพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลำต้นกลมเรียบ แข็ง
สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อๆ ละหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่
รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่างๆ
ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง
ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประสีแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า
มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝัก รูปไข่หรือทรงกระบอก
สรรพคุณของ เหงือกปลาหมอดอกม่วง : ต้น, เมล็ด รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม ใบ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด
 

โมกหลวง


รูปลักษณะ : โมกหลวง เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 10-12 ซม.
ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว
บริเวณกลางดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักคู่
สรรพคุณของ โมกหลวง : เปลือก ใช้แก้บิด เจริญอาหาร พบว่ามีแอลคาลอยด์ Conessine ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบิด และเคยใช้เป็นยารักษาโรคบิดอยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันมีการใช้น้อย เนื่องจากพบฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท

ระย่อมน้อย


รูปลักษณะ : ระย่อมน้อย เป็นไม้พุ่ม สูง 30-70 ซม. มียางขาว ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม หรือรอบข้อๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง ผลเป็นผลสด รูปวงรี
สรรพคุณของ ระย่อมน้อย : ราก ตำรายาไทยใช้แก้ไข้ เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต แก้บ้าคลั่ง ทำให้นอนหลับ ขับพยาธิ พบว่ารากมีแอลคาลอยด์ Reserpine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และกล่อมประสาท อาการข้างเคียงของการใช้ยานี้คือ ทำให้ฝันร้าย ซึมเศร้า คัดจมูก

ฟ้าทะลาย

 
รูปลักษณะ : ฟ้าทะลาย เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม
ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม
รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. สีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน
ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ
ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา
สรรพคุณของ ฟ้าทะลาย : ใบและทั้งต้น ใช้เฉพาะส่วนที่อยู่บนดิน ซึ่งเก็บก่อนที่ดอกจะบาน เป็นยาแก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นยาขมเจริญอาหาร ขนาดที่ใช้คือ พืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูลๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

พะยอม


รูปลักษณะ : พะยอม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลแห้ง รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
สรรพคุณของ พะยอม : เปลือกต้น ต้นน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและสำไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือ แทนนิน นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นยากันบูดด้วย ดอก ใช้เป็นยาลดไข้ เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

พญาสัตบรรณ

รูปลักษณะ : พญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา
มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 ใบ
รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายทู่กลม
หรือเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว แกมเหลือง
ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ รูปกลมยาว
สรรพคุณของ พญาสัตบรรณ : เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้
การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง
และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

ปลาไหลเผือก

 
รูปลักษณะ : ปลาไหลเผือก เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-6 เมตร ลำต้นตรง
ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง
ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. สีเขียวเข้ม
ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแดง
ผลเป็นผลสด รูปยาวรี
สรรพคุณของ ปลาไหลเผือก : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด รวมทั้งไข้จับสั่น พบว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นสารที่มีรสขม ได้แก่ Eurycomalactone, Eurycomanol และ Eurycomanone สารทั้งสามชนิดนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย ชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้ จัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ ควรศึกษาวิจัยต่อไป

บัวบก

รูปลักษณะ : บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน
ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ
ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณของ บัวบก :บสด ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (Keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, กรด Asiatic และ Asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย

บอระเพ็ด


ลักษณะ : บอระเพ็ด เป็นไม้เถาเลื้อยพัน เถามีขนาดใหญ่ มีปุ่มปมมาก
ทุกส่วนมีรสขมมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้างและยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ
ออกตามเถา และที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก ไม่มีกลีบดอก ผล เป็นผลสด
ค่อนข้างกลม
สรรพคุณของ บอระเพ็ด : เถา ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยนำเถาสดขนาดยาว 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ต้มคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีไข้ นอกจากนี้ใช้เป็นยาขมเจริญอาหารด้วย

คนทา


รูปลักษณะ : คนทา เป็นไม้พุ่มแกมเถา กิ่งก้านมีหนาม ยอดอ่อนมีสีแดง ใบประกอบ
แบบขนนกเรียงสลับ มีครีบที่ก้านและแกนใบ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม.
ยาว 2-2.5 ซม. ขอบใบหยัก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกมม่วง ด้านในสีนวล ผล เป็นผลสด ค่อนข้างกลม ใบ ผล และราก
มีรสขม
สรรพคุณของ คนทา : ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด

กระแจะ

 
รูปลักษณะ : กระแจะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม
ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว
2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม
สรรพคุณของ กระแจะ : แก่น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน
ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม
โลหิตจาง), ลำต้น ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง
เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก
มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน, เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส

โล่ติ๊น

รูปลักษณะ : โล่ติ๊น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ
ใบย่อยรูปไข่กลับแกมใบหอก หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-20 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง ผลเป็นฝัก
สรรพคุณของ โล่ติ๊น : ราก ใช้รากฆ่าเหาและเรือด
ฆ่าแมลง เบื่อปลาโดยนำรากมาทุบ แช่น้ำทิ้งไว้ ใช้เฉพาะส่วนน้ำ พบมีสารพิษชื่อ
Rotenone ซึ่งสลายตัวง่าย ถ้าใช้ฆ่าแมลง จะไม่มีพิษตกค้าง

จำปา


รูปลักษณะ : จำปา เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ยอดอ่อนมีใบเกล็ดหุ้ม
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 12-20
ซม. ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองส้ม กลิ่นหอม
ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยติดบนแกนเป็นช่อยาว เมื่อแก่จะแตก
สรรพคุณของ จำปา : ดอก มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต แก้คลื่นไส้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด รักษาโรคเรื้อนและหิด

กลิ้งกลางดง

รูปลักษณะ : กลิ้งกลางดง เป็นไม้เลื้อย กิ่งก้านมีน้ำยางสีแดง ลำต้นบนดินมีอายุปีเดียว งอกมาจากหัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมสามเหลี่ยมกว้าง ขอใบเว้าเล็กน้อย กว้าง 7-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียดเล็กน้อย ดอกช่อ แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4-16 ซม. กลีบดอกสีส้ม ช่อดอกตัวเมียอัดกันแน่นมากกว่า ผลเป็นผลสด รูปไข่กลับสรรพคุณของ กลิ้งกลางดง : เถา ใช้เถาขับพยาธิ ราก บำรุงเส้นประสาท หัวใต้ดิน ดองเหล้ากินบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด หรือตากแห้ง บด ปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ใบ รักษาแผลสด และแผลเรื้อรัง

กระเบา

รูปลักษณะ : กระเบา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-12 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อสั้นๆ ออกที่ซอกใบ
แยกเพศอยู่คนละต้น ต้นตัวเมียเรียกว่า กระเบาต้นตัวผู้ เรียกว่าแก้วกาหลง
กลีบดอกสีม่วงแดงจางๆ ผลเป็นผลสด รูปกลม เปลือกหนา มีขนกำมะหยี่สีน้ำตาล
มีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณของ กระเบา : เมล็ด ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ด รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ
มีรายงานวิจัยว่าน้ำมันที่บีบจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเรื้อนและวัณโรค

หนอนตายหยาก

รูปลักษณะ : หนอนตายหยาก เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.4-0.6 เมตร รากเป็นรูปกระสวย
ออกเป็นกระจุกคล้ายกระชาย กิ่งที่กำลังจะออกดอก มักจะเลื้อยพัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. แผ่นใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ
กลีบดอกด้านนอกสีเขียว ด้านในสีแดง ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณของ หนอนตายหยาก : ราก ใช้ทุบหมักน้ำ ใช้ส่วนน้ำเป็นยาฆ่าหิดเหา ฆ่าหนอน

ว่านมหากาฬ

รูปลักษณะ : ว่านมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ
เลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน ชูยอดตั้งขึ้น ปลายยอดมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยว
เรียงสลับ เวียนรอบต้น รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5-8 ซม. ยาว 6-30 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ
หลังใบสีม่วงเข้ม มีขนเส้นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด
กลีบดอกสีเหลืองทอง ผลแห้ง ไม่แตก
สรรพคุณของ ว่านมหากาฬ : รากและใบสด ใช้ตำ พอกแก้ปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน ใช้ใบสดทดลองกับผู้ป่วยโรคเริมและงูสวัด สรุปว่า สารสกัดจากใบทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหญ่ของโรคลดลง

ลำโพงกาสลัก


รูปลักษณะ : ลำโพงกาสลัก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันหยาบๆ
ฐานใบมักไม่เสมอกัน ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันเป็นหลอด
ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตร
ผลแห้ง แตกได้ มีขนหนาคล้ายหนาม ลำโพงขาวมีกิ่งก้านลำต้นสีเขียว
กลีบดอกสีขาวชั้นเดียว ผลกลม ลำโพงกาสลักมีกิ่งก้านลำต้นสีม่วปนเขียวถึงสีม่วงเข้ม
กลีบดอกสีม่วง 2-3 ชั้นซ้อนกัน ผลรูปรี
สรรพคุณของ ลำโพงกาสลัก : เมล็ด ใช้หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ใบ
ใช้ใบสดตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ใบและยอด มีแอลคาลอยด์ Hyoscyamine และ Hyoscine
ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้ ดอก ใช้สูบแก้อาการหอบหืด

รามใหญ่

รูปลักษณะ : รามใหญ่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-15 ซม. ใบหนา ผิวเรียบ ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวแกมชมพูจางๆ ผล เป็นผลสด เมื่อสุกสีดำ
สรรพคุณของ รามใหญ่ : ลำต้น ใช้แก้โรคเรื้อน
พบเม็ดสี (Pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น
ซึ่งเมื่อใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อน โดยให้ยาติดต่อกัน 6 เดือน-1 ปี
สามารลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้ ราก ใช้แก้กามโรคและหนองใส
ผล แก้ไข้ ท้องเสีย

ไพล

รูปลักษณะ : ไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน
เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อ
หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบ หรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18 -35 ซม. ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน
กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลแห้ง รูปกลม
สรรพคุณของ ไพล : เหง้า ใช้เหง้าสดเป็นยาภายนอก โดยฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่า ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบ และบวม จึงมีการผลิตยาขึ้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ สามารถทากันยุงได้ ใช้เหง้ากินเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-Hydroxy-1-Butenyl)Veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใข้ผงไพลกับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหิด สรุปว่าให้ผลดี ทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง

เทียนบ้าน

รูปลักษณะ : เทียนบ้าน เป็นไม้ล้มลุก สูง 20-70 เมตร ลำต้นอวบน้ำ
และค่อนข้างโปร่งแสง ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบต้นรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 6-10
ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ มีสีต่างๆ เช่น ขาว
ชมพู แดง ม่วง ผลแห้ง รูปรี เมื่อแก่จัดจะแตกเป็นริ้วตามยาว ม้วนขมวด ดีดเมล็ดกลมสีน้ำตาลออกมา
สรรพคุณของ เทียนบ้าน : ใบ ใช้ใบสดตำละเอียดพอกแก้เล็บขบ รักษาฝีหรือแผลพุพอง น้ำคั้นใบสด ใช้ย้อมผมแทนใบเทียนกิ่ง แต่เวลาใช้ต้องระวัง เพราะสีจะติดเสื้อผ้า และร่างกาย มีรายงานว่าสารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมีสาร Lowsone ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อราที่ทำให้เป็นโรคกลาก และฮ่องกงฟุตได้

ข่อย

รูปลักษณะ : ข่อย เป็นไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม.
ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม
ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่
เมื่อสุกสีเหลือง
สรรพคุณของ ข่อย : เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ

กันเกรา

รูปลักษณะ : กันเกรา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม
รูปวงรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. แผ่นใบบางแต่เหนียว ดอกช่อ
ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบาน กลีบดอกสีขาว
ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีแดง
สรรพคุณของ กันเกรา : ใบ ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดและรักษาโรคผิวหนังพุพอง

หนามแดง

รูปลักษณะ : หนามแดง เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3-4 เมตร
กิ่งก้านมีหนามแหลมยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-9 ซม.
ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
เมล็ดสีน้ำตาล
สรรพคุณของ หนามแดง : แก่น ใช้บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม ราก แก้ไข้

บุนนาค

รูปลักษณะ : บุนนาค เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง
ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว
ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว
มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสด
สรรพคุณของ บุนนาค : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

กฤษณา

รูปลักษณะ : กฤษณา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา
เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 6 ซม.ยาว 12
ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก
กลีบดอกสีขาวแกมเขียว ผลแห้ง รูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก
กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล
สรรพคุณของ กฤษณา : แก่น แก่นไม้กฤษณาที่มีสีดำและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ปัจจุบันนี้ หาเนื้อไม้กฤษณาเพื่อใช้ทำยายากขึ้น และมีราคาแพง

มะแว้งเครือ

ลักษณะ : 
ไม้เลื้อย   มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม.   ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่ด้วยอ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง  ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง
ประโยชน์ทางสมุนไพร :ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล   โขลกพอแหลกคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ   หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน   มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน   นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหาร

หูกวาง


รูปลักษณะ : หูกวาง เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 10-35 เมตร เปลือกเรียบ
เรือนยอดแผ่กว้าง ในแนวราบ ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ และออกแน่นที่ปลายกิ่ง เนื้อใบหนา
ดอกช่อออกตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีขาว ผลสีแดงเหลือง หรือเขียว รูปรีค่อนข้างแบน
ทางด้านข้างยาว 3-7 ซม. มักขึ้นตามชายฝั่งทะเล
สรรพคุณของ หูกวาง : เปลือก ใช้เปลือกต้น ซึ่งมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บิด ผลเป็นยาถ่าย ใบขับเหงื่อ น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดใช้รักษา โรคเรื้อน

ฝรั่ง

รูปลักษณะ : ฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6 -14 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อ
2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด
สรรพคุณของ ฝรั่ง : ใบ แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ระงับกลิ่นปาก รากขับปัสสาวะ การทดลองกับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โดยให้กินผงใบแห้ง 500 มก. ทุก 3 ชม. เป็นเวลา 3 วัน พบว่าได้ผลดีกว่า ยาปฏิชีวนะเตตราซัยคลิน

ช้าพลู

รูปลักษณะ : ช้าพลู เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-80 ซม. มีไหลงอกเป็นต้นใหม่
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ
รูปทรงกระบอก ดอกย่อยแยกเพศ ผลเป็นผลสด
สรรพคุณของ ช้าพลู : ต้น ใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัด ทั้งต้นมีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และคลายกล้ามเนื้อ

กระชาย

รูปลักษณะ : กระชาย เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน
ซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย
ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 ซม. ยาว 15-30
ซม. ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก ดอกช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น
กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอก สีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
สรรพคุณของ กระชาย : เหง้า ใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ
รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว

ว่านหางจรเข้

รูปลักษณะไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว
เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก
สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยาง
สีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย
เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
วุ้นสด - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุด
ของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด
ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง
และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอา
วุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และ
ขจัดรอยแผลเป็น อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้น
ใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษา
แผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
หลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น
สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์
ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณ
ที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน
ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ - เคี่ยวให้
แห้ง เรียกว่า "ยาดำ" เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

มะละกอ

รูปลักษณะ ไม้ยืนต้น สูง 3 - 6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ2 - 3 ดอก สีนวล ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากและก้านใบ - ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์
ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อย
เนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
ในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม
การอักเสบจากบาดแผล หรือการผ่าตัด ตำพอกแผลเรื้อรังฝีหนอง

ตะไคร้หอม

ลักษณะพืชพืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอมตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออก
มา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม.มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อยการปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมากส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ
สรรพคุณ
ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วนฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

ขี้เหล็ก


รูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนา
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ
แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต
ดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับ
ใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอน
ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบาย
ฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะ
เปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัย
เปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร
กระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็น
แก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชา
แก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา
แก้กามโรค หนองใส
ราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค

ขมิ้นชัน

ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้ม
จนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบ
พุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลาง
ระหว่างใบคู่ในสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว
การปลูก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน
ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ ที่อายุ 11-12 เดือน เป็น
ท่อนพันธุ์ เก็บใช้ในช่วงอายุ 9-10 เดือน ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้ง
สรรพคุณยาไทย
เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ
และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา
อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด
วิธีใช้ อาการแพ้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาว
ประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้น
โรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อาการ ท้องอืด
ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก
หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง
ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
หลังอาหารและก่อนนอนถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที

กระดังงา


รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.
ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก
กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่
จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม
ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

ดอกอัญชัน

ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน
แหล่งที่พบ
พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ
สารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)
สรรพคุณ
รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง
ตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทน
แข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาว
ส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

ตะไคร้

สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค
หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ
เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา
ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง
แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว
เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน
และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย
 


กระเทียม


กระเทียมกระเทียมเป็นสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพหลายด้าน เมื่อรับประทานเข้าไป สารในกระเทียมจะช่วยเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี ช่วยในการย่อยอาหาร และยังแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย มีของฝากพิเศษสำหรับคนที่มีอาการจุกเสียดแน่นเนื่องจ ากอาหารไม่ย่อยอยู่ บ่อยๆ ให้นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังมื้ออาหาร อาการจะค่อยๆ หายไป